วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

8 กันยายน วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ


1. ความเป็นมา
          ด้วยองค์การศึกษา วทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดให้วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี เป็น "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" (International  Literacy  Day: ILD) และได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกทั่วโลก ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงวันสำคัญดังกล่าว ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกจึงได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสแห่งวันสำคัญนี้ทุกปีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งในปีนี้ ถือเป็นปีพิเศษครบรอบ 50 ปี ของ "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ที่องค์การยูเนสโก ได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2509

2. หลักการ แนวคิด การจัดงาน "วันที่ีระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ประจำปี 2559
           1) โดยปกติแนวคิด หรือ Theme ในการจัดงานจะยึดหลักแนวคิดที่สอดรับกับสารผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ที่มุ่งหวังจะให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนที่ประชาชนยากจนและด้วยโอกาสส่วนใหญ่ในสังคมโลกกำลังเผชิญ และต้องการได้รับความช่วยเหลือ เยียวยาหรือข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา โดยการผนึกกำลังร่วมกันของประเทศสมาชิก สำหรับ Theme ของ ILD  ในปีนี้คือ Reading the Past, Writing the Future (อ่านอดีต เขียนอนาคต) เนื่องจากเป็นวาระครบรอบ 50 ปี ของวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ หารนิยามคำว่า " การรู้หนังสือ" ในอดีต แค่เพียงอ่านออกเขียนได้ และคิดเลขเป็น คงไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่อย่างราบรื่น มีความสุขในศตวรรษที่ 21 หรือโลกสังคมยุคดิจิทัลในปัจจุบัน แต่ควรเป็นการรู้หนังสือที่รู้ถึงการคิดวิเคราะห์เป็น รู้ลึก รู้รอบ และรู้เท่าทัน หรือพูดสั้น ๆ ว่า "รู้จริง" นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
            2) เลขาธิการ กศน. ให้แนวคิดในการจัดงานว่า ต้องการสะท้อนและกระตุ้นให้ประชาชนในทุกพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ และความสำคัญในการจัดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ พิธีเปิดขอให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ การจัดงานขอให้จัดงานเล็ก มีคุณภาพ แต่สะท้อนภาพว่า กศน. มีภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยหากสามารถจัดงานในระดับอำเภอ/เขต และตำบล/แขวง ก็จะดีมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
3. วัตถุประสงค์
             1) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับในสำนักงาน กศน. ภาคีเครือข่าย ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของ "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ"
             2) เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการรู้หนังสือ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยเข้าใจว่าการรู้หนังสือเป็นรากฐานของการนำไปใช้แสวงหาความรู้ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
             3) เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง "วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ" ในฐานะประเทศสมาชิกของยูเนสโกพร้อมกันทั่วโลก
4. สถานที่จัดงาน
             ส่วนกลาง         : ห้องประชุมบุณยเกตุ  หอประชุมคุรุสภา  กระทรวงศึกษาธิการ
             ส่วนภูมิภาค      : ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่อื่นตามความพร้อมและความเหมาะสมของ
                                        พื้ที่ในแต่ละ ระดับ
5. กิจกรรมหลัก
             1) การอ่านสารผู้อำนวยการยูเนสโก (สารเป็นภาษาอังกฤษ)
                  ส่วนกลาง         : อ่านโดยผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพ
                  ส่วนภูมิภาค      : บันทึกเทปการอ่านสารโดยผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพ หรือผู้แทน
                                             และส่งเทปไปให้จังหวัดฉายช่วงพิธีเปิดงาน
              2) การอ่านสารนายกรัฐมนตรี เนื่องในวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2559
                  ส่วนกลาง          : เปิดเทปการอ่านสารโดยนายกรัฐมนตรี หรือประธานในพิธีเปิดงานเป็น
                                              ผู้อ่านสาร (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
                  ส่วนภูมิภาค       : อ่านสารโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน
              3) การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ช่อง ETV ตลอดการจัดงาน
              4) การจัดนิทรรศการ
                     แสดงให้เห็นภารกิจของ กศน.และสอดรับกับแนวคิดหลัก "อ่านอดีต เขียนอนาคต"
             โดยเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และนโยบายประชารัฐของรัฐบาล
                     ส่วนกลาง : มีนิทรรศการบรรณสัญจร (Book Voyage) หรือแสดงความเป็นมาของกิจกรรม
                                        บรรณสัญจร และผลการดำเนินงานของกิจกรรมดังกล่าว และหากมีพื้นที่
                                       ในการจัดกิจกรรมว่างอยู่ ให้สำนักงาน กศน. กทม. เข้าร่วมจัดนิทรรศการเพิ่ม
                                       เติม
                 ส่วนภูมิภาค : จัดนิทรรศการให้สอดรับกับแนวคิดข้างต้น ตามความพร้อมและความ
                                        เหมาะสม
             5) การเสวนาทางวิชาการ :
                 ส่วนกลาง    : การแสดงปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง "(ร่าง) พรบ. การศึกษาตลอดชีวิต"
                                       โดย ดร.วิวัฒน์  ศัลยกำธร
                 ส่วนภูมิภาค  : ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละพื้นที่







วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมเสริมสร้างจินตนาการ ด้วยการอ่าน ครั้งที่ 2

ในวันที่ 9 สิงหาคม 2559  เวลา 09.00 - 12.00 น. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิจิตรได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิจิตร โดยการมีกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ ด้วยกิจกรรม บัวลอยลอยแฟนซี และกิจกรรมเรียนรู้คำศัพท์จากรูปภาพและ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ของเด็ก ในการปั้นแป้ง เสริมสร้างจินตนาการการผสมสีขนม และส่งเสริมการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านส่วนผสม และนำผลผลิตมาบริโภคเพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้กับผู้เรียนอีกทางหนึ่ง








กิจกรรมเสริมสร้างจินตนาการ ด้วยการอ่าน ครั้งที่ 1

ในวันที่ 5 สิงหาคม 2559  เวลา 09.00 - 12.00 น. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพิจิตรได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  อบต.โรงช้าง โดยการมีกิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็ก ๆ ด้วยกิจกรรม บัวลอยลอยแฟนซี และกิจกรรมเรียนรู้คำศัพท์จากรูปภาพและ เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ของเด็ก ในการปั้นแป้ง เสริมสร้างจินตนาการการผสมสีขนม และส่งเสริมการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านส่วนผสม และนำผลผลิตมาบริโภคเพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้กับผู้เรียนอีกทางหนึ่ง